แสกเต้นสาก

อุปกรณ์ในการเต้นสาก

ไม้สาก มีลักษณะตรงยาวประมาณ 2 เมตร ใช้เคาะจังหวะประมาณ 5-6 คู่ การวางไม้ สากจะจัดเป็นช่วง ๆ ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ต่อ 1 คู่

ไม้รองพื้นสาก มีขนาดใหญ่และยาวกว่าไม้สากมี 1 คู่ ขนาดกว้างยาวเท่ากันยาวประมาณ 5-7 เมตร สำหรับเป็นฐานรองไม้สาก

จังหวะการตีสาก

สมัยโบราณในการเคาะจังหวะจะใช้ไม้สากตำข้าวไม่มีการเตรียมจับไม้สากมา เคาะเป็นจังหวะได้เลยปัจจุบันจังหวะการตีสาก จะมีหลายจังหวะด้วยกัน หากคนตีสากไม่เป็นและเต้นสากไม่เป็น หรือ เต้นไม่ถูกจังหวะ ไม่สากก็จะตีกระทบขาคนที่เต้น ให้เกิดการเจ็บปวดได้ จะไม่เหมือนกับ รำลาวกระทบไม้ เพราะต้องฝึกและต้องใช้เวลานานพอสมควรซึ่งยากนักจะมีคนตีและเต้นได้เหมือน ชาวแสก เพราะจังหวะเร็วก็เร็วมาก ถ้าไม่ฝึกจนชำนาญ จะไม่สามารถเต้นได้ มิใช่ว่าจะมนไปแสดงได้ตลอดไปก่อนที่จะนำไปแสดงที่อื่น จะต้องทำพิธีขออนุญาต "โองมู้" อนุญาตแล้วจึงนำไปแสดงเต้นสากไปแสดงโดยไม่ได้ขออนุญาตก็จะมีเหตุให้มีอันเป็นไป เช่น ทำให้เจ็บไข้ไม่สบายโดยหาสาเหตุไม่ได้

ดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ

ส่วนมากเป็นดนตรี พื้นบ้าน มีกลองใหญ่ กลองเล็ก ฆ้องเล็ก พังฮาด (มีลักษณะคล้ายฆ้องตรงกลางจะนูนเป็นวงกลม) ฉิ่ง ฉาบผู้ให้จังหวะส่วนมากจะเป็นผู้ชาย

ผู้แสดง "แสกเต้นสาก"

  1. ผู้ทำหน้าที่เคาะไม้สาก จะนั่งตรงข้าม จับคู่กันประมาณ 5 ถึง 7 คู่ แล้วแต่ความยาวของไม้รองไม้สากจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้
  2. ผู้เต้น จะทำท่าเต้นคล้าย ๆ ระลาวกระทบไม้แต่จังหวะการเต้นจะเร็วกว่ามาก จะมีทั้งเต้นเดี่ยว เต้นเป็นคู่ มีจังหวะช้า จังหวะเร็ว ผู้เต้นจะมีทั้งชายและหญิง
  3. ผู้ร้องเนื้อเพลงภาษาแล้ว ประกอบดนตรีจะเป็นผู้หญิงหรือชายก็ได้